10 ข้อควรรู้ ก่อนซื้อเบาะนั่งนิรภัยหรือคาร์ซีท(Car Seat)

 เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก


เบาะนั่งนิรภัยหรือคาร์ซีท เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันหากคุณจำเป็นต้องเดินทางโดยมีลูกน้อยไปด้วย ตั้งแต่วัยแรกคลอดจนถึงวัยเรียน ซึ่งอุปกรณ์ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานย่อมจะมีราคาสูง เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องรู้รายละเอียดและ ความปลอดภัยในการใช้งานของคาร์ซีทแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่น แต่ละช่วงอายุ ก่อนตัดสินใจซื้อ เพื่อความคุ้มค่ากับความปลอดภัยของลูก

ประเภทของเบาะนั่งนิรภัย  

เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กจะมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ ซึ่งจะถูกออกแบบให้เหมาะสำหรับช่วงวัยและรูปร่างของเด็กที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • แบบที่ 1 Rear-facing infant seats and Convertible seats เบาะนั่งนิรภัยแบบหันไปด้านหลังรถ ใช้สำหรับเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ปี ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 9 กก. ส่วนสูงประมาณ 75 ซม. เพราะเด็กคอยังไม่แข็งพอ เมื่อรถเบรคกะทันหันคอจะไม่พับลงมา ซึ่งอันตรายมาก มีที่ประคองศรีษะให้กระชับแน่นไม่โยกคลอน   

  • แบบที่ 2 Forward-facing child seats เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กแบบหันไปข้างหน้ารถ ใช้สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 1-5 ปี ที่มีน้ำหนักตัว 9-18 กก. และมีส่วนสูง 75-110 ซม. รุ่นนี้เด็กคอแข็งพอที่จะหันไปทางหน้ารถได้แล้ว มีขนาดใหญ่ขึ้นมาอีกนิด เข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุด มีทั้งแบบลอคตรงเป้า 3 จุด แบบรถยนต์ และ 4 จุด แบบรถแข่ง เด็กวัยนี้ยังไม่สามารถใช้เข็มขัดนิรภัยที่ติดตั้งมากับรถยนต์ได้เช่นกัน มีที่ประคองศีรษะให้กระชับแน่น  
  • แบบที่ 3 บูสเตอร์ซีท (Booster Seat) หรือเบาะนั่งเสริม คล้ายๆ กับคาร์ซีทเลย แต่ไม่มีเข็มขัดนิรภัยในตัวแบบ 5 จุด บูสเตอร์ซีทใช้กับเด็กที่โตเกินใช้แบบเข็มขัด 5 จุด แต่ยังไม่สามารถใช้เข็มขัดของรถยนต์ได้พอดี จึงต้อง Boost ก้นเด็กให้สูงพอที่จะใช้เข็มขัดรถได้พอดี (สายเข็มขัดต้องพาดไหล่ ไม่ใช่พาดคอ) ทั้งหมดทั้งมวลนี้เพื่อความปลอดภัยของเด็กนั่นเอง มี2แบบ คือ แบบมีพนักพิงด้านหลัง และ แบบไม่มีพนักพิงด้านหลัง
3.1 Booster seats มีพนักพิง >>>เลือกซื้อ


3.2 Booster seats ไม่มีพนักพิง >>>เลือกซื้อ

ระบบการติดตั้งคาร์ซีทมี 2 แบบคือ

1. ISOFIX คือ ระบบติดตั้งโดยต่อ ISOFIX Connector กับแถมเหล็ก(Metal Bar)บริเวณเบาะด้านหลังของรถยนต์ ข้อดีของระบบนี้คือ ใช้เวลาติดตั้งน้อยและง่าย จึงทำให้ลดความผิดพลาดที่อาจเกิดจากขั้นตอนที่ยุ่งยาก มีความปลอดภัยสูง แต่ต้องแลกกับราคาที่สูงขึ้นและมีรองรับเฉพาะในรถยนต์บางรุ่นเท่านั้น


2. Car’s Own Seatbelt เป็นระบบติดตั้งแบบเข็มขัดนิรภัย โดยจะเชื่อมกับเข็มขัดนิรภัยในรถยนต์ มีข้อดีคือ ประหยัดทั้งเงินและเวลา แถมใช้ได้กับรถยนต์ทุกรุ่นเพราะสามารถใช้กับเข็มขัดนิรภัยที่มีในรถยนต์ แต่มีข้อเสียคือ ใช้เวลาติดตั้งและมีขั้นตอนมากกว่าซึ่งอาจเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย


ข้อมูลสำคัญของเบาะนั่งนิรภัย ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

1. อุบัติเหตุรถยนต์เพียงแค่ 49 km/h ผู้โดยสารที่ไม่คาดเข็มขัดนิรภัยจะพุ่งไปข้างหน้าด้วยความเร็วเป็น 30-60 เท่าของน้ำหนักตัวเอง

2. เข็มขัดนิรภัยถูกออกแบบมาเพื่อยึดตัวคุณเองไว้ในรถ และลดแรงกระแทกต่อตัวคุณ ลดโอกาสการเสียชีวิตหรือการบาดเจ็บหนักได้ถึง 50%

3. ผลการวิจัยของสถาบัน NHTSA พบว่า การให้เด็กนั่งด้านหลังแทนการนั่งหน้าจะช่วยลดความเสี่ยในการเสียชีวิตได้ 27% ไม่ว่ารถคุณจะมี Airbag ด้านข้างหรือไม่ก็ตาม

4. สถานบัน NHTSA (Nation Highway Traffic Safety Administration) กล่าวไว้ว่าเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี ควรนั่งเบาะด้านหลังรถ

5. เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กแบบหันไปด้านหลังรถ อีกทั้งรุ่นที่ออกแบบสำหรับหันหลังได้โดยเฉพาะจะปกป้องหัว คอและกระดูกสันหลังของเด็กได้มากกว่า  ซึ่งมีประเภทของสายรัดดังนี้

     แบบ 3 จุด จะมีสายรัด 3 เส้น รัดตรงบ่า 2 ข้างลงมาเชื่อมล็อคใกล้ๆ ด้านล่างของที่นั่ง

     แบบ 5 จุด จะมีสายรัด 5 เส้น 2 เส้นที่บ่า 2 เส้นที่สะโพก และอีกเส้นที่ เป้ากางเกง

     แบบ Overhead shield จะมีเป็นคานป้องกันการกระแทกหรือการเหวี่ยงตัวของเด็ก

     แบบ t-shield จะมีเป็นคานรูปสามเหลี่ยมอยู่ติดกับสายรัดช่วงบ่า 

6car seat ควรจะปรับให้หันหน้าได้เมื่อส่วนบนของหัวเด็ก ถึงส่วนบนของ car seat หรือเมื่อน้ำหนักตัวของทารกประมาณ 13-16 กก.

7. เมื่อไหร่ก็ตามที่เด็กตัวใหญ่มากกว่าที่สายรัดจะรัดได้ ควรใช้เบาะนั่งแบบ booster seat  วิธีการดูว่าเด็กตัวใหญ่เกินไปหรือไม่สามารถดูได้จากว่าศีรษะของเด็กสูงเกิน กว่าเบาะนั่งหรือไม่ โดยทั่วไป เด็กจำเป็นจะต้องใช้ booster seat ระหว่างอายุ 4-6 ปี

8. เข็มขัดนิรภัยของรถจะถูกออกแบบมาเพื่อให้นั่งได้ระหว่างกระดูก เชิงกรานและโครงกระดูกของผู้นั่ง เพื่อกระจายแรงกระแทกจากส่วนของรถเมื่อเกิดอุบัติเหตุ Booster seat จะยกตัวเด็กขึ้นให้สามารถใช้เข็มขัดนิรภัยของผู้ใหญ่ได้พอดี

9.โดยปกติเมื่อเด็กอายุ 6 ขวบ หรือเมื่อไหร่ก็ตามที่เด็กสามารถนั่งได้ตัวตรงแล้ว เขาสามารถนั่ง Booster seat แบบไม่ต้องมีพนักพิงได้

10. เด็กพร้อมที่จะใช้เข็มขัดนิรภัยของรถโดยไม่ต้องนั่ง Booster seat ความสูงของเด็กจะต้องได้ประมาณ 150 ซม. หรือประมาณ 8 ขวบ (ความสูงของเด็กบางคนจะไม่ไปตามอายุ บางคนมีอายุ 10-11 ขวบถึงจะต้องใช้ Booster seat) 

  • เขาสูงเพียงพอที่ขาและเข่าของเขาสามารถนั่งห้อยขาได้เบาะนั่งรถได้พอดี
  • เขาโตพอที่จะสามารถนั่งตัวตรง หลังพิงพนักพิงได้ตรง
  • เข็มขัดนิรภัยของรถส่วนล่างจะต้องรัดได้ตรงส่วนกระดูกเชิงกราน ไม่ใช้รัดตรงท้อง
  • เข็มขัดที่พาดส่วนบ่า จะต้องพาดผ่านมาตรงส่วนหน้าอก ไม่ใช่ผ่านมาตรงแขนหรือคอ
  • สิ่งที่ควรจะพิจารณาเมื่อคุณต้องซ์้อ car seat สำหรับเด็กทารก  
  

     จากข้อมูลข้างต้น เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องนำมาพิจารณาหรือประกอบการตัดสินใจ ซึ่งการเลือกใช้คาร์ซีทคุณภาพเป็นสิ่งที่ดีแต่ราคาค่อนข้างสูง จึงต้องคิดให้รอบด้าน และเลือกใช้ชนิดที่ลูกได้รับความปลอดภัยสูงสุดจะดีที่สุด ที่สำคัญต้องติดตั้งให้ถูกต้องตามคำแนะนำหรือคู่มือด้วยเช่นกัน!!!


Post a Comment

ใหม่กว่า เก่ากว่า